ราคาขายปลีก น้ำมัน ( บาท/ ลิตร )

เบนซิล 95 41.14

แก็สโซฮอลล์ 95 32.85

แก็สโซฮอลล์ 91 32.48

แก็สโซฮอลล์ อี 20 30.64

แก็สโซฮอลล์ อี 85 28.99

ดีเซล 31.94

EnergyStat.diesel_B7 31.94

ดีเซล บี 20 41.44

ดีเซล บี 7 พรีเมียม 43.94

Hover Icon
พลังงาน มั่นใจ หลังให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้า - น้ำมันโดยละเอียดพร้อมสั่งการให้วางแนวทางที่เข้มข้นขึ้นป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

หลังจากเกิดเหตุแผ่นหินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบโครงการพื้นฐานโดยละเอียด ทั้งโรงไฟฟ้า เขื่อนผลิตไฟฟ้า โครงสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน การขนส่งน้ำมัน ซึ่งในภาพรวมได้รับผลกระทบเล็กน้อย ไม่ส่งผลการให้บริการประชาชน พร้อมสั่งการให้เตรียมวางแนวทางป้องกันที่เข้มข้นมากขึ้นเพื่อรองรับหากเกิดเหตุขึ้นอีกในอนาคต วันนี้ (31 มีนาคม 2568) นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะโฆษกกระทรวงพลังงาน ได้รายงานความคืบหน้าการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานโดยละเอียด ภายหลังการเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งในส่วนของโครงสร้างไฟฟ้า ได้รับผลกระทบเล็กน้อย แต่ไม่กระทบต่อการจ่ายไฟฟ้าให้กับประชาชน โดยมีบางโรงไฟฟ้ามีการหลุดออกจากระบบหลังจากเหตุแผ่นดินไหวซึ่งเป็นระบบป้องกันภัยอัตโนมัติ แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ได้บริหารจัดการจึงทำให้ประชาชนในบางพื้นที่ได้รับผลกระทบในระยะเวลาอันสั้น ส่วนในด้านความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนนั้น กฟผ. ได้ตรวจสอบด้วยเครื่องวัดอัตราเร่งของพื้นดิน ซึ่งไม่พบความผิดปกติใดๆ ในตัวเขื่อนและอาคารประกอบอื่นๆ ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนต่างๆ ของ กฟผ. จึงมั่นใจได้ว่าโครงสร้างระบบไฟฟ้าและเขื่อนมีความมั่นคงปลอดภัย ด้านโครงสร้างพื้นฐานน้ำมันและการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อนั้น ในส่วนของระบบการรับส่งก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หลังการตรวจสอบโดยละเอียดพบว่ายังคงเป็นปกติและสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่กระทบต่อการส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่โรงไฟฟ้าและผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ส่วนคลังน้ำมันและคลังปิโตรเลียมจำนวน 22 แห่งทั่วประเทศของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTT OR ไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแต่อย่างใด “หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานทั้งไฟฟ้าและน้ำมันโดยละเอียด ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 วันที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งโรงไฟฟ้า เขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศ ระบบการส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันผ่านท่อ รวมทั้งคลังเก็บน้ำมันและปิโตรเลียม ซึ่งทั้งหมดได้รับรายงานว่า ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน นอกจากนั้น ก็ได้มีการสั่งการให้วางแผนทางด้านความปลอดภัยให้มีความเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยไม่เคยเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมากขนาดนี้ นอกจากการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ แล้ว กฟผ. และ ปตท. ส่งมอบอาหารและน้ำดื่ม รวมทั้งได้ส่งหน่วย Seal เพื่อสนับสนุนการปฎิบัติภารกิจของทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัยในการค้นหาผู้ติดอยู่ภายใต้ซากอาคารย่านจตุจักร สุดท้ายนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กระทรวงพลังงานมีการซ้อมแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โครงสร้างด้านพลังงานของไทย ทั้งไฟฟ้าและน้ำมันมีความมั่นคง ปลอดภัย และพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต” นายวีรพัฒน์ กล่าว

31 มีนาคม 2568
3
Hover Icon
ใช้พัดลมอย่างไรให้ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน

เพิ่งสัมผัสหนาวได้เพียงไม่กี่วัน อากาศก็เริ่มกลับมาอุ่นจนถึงร้อนอีกแล้วนะครับ วันนี้จึงขอนำข้อมูลดีๆ มาแนะนำเกี่ยวกับการเลือกใช้พัดลม สำหรับท่านที่กำลังมองหาอุปกรณ์ช่วยผ่อนคลายความร้อนกันนะครับ 1. เลือกพัดลมให้เหมาะกับการใช้งาน – สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ จำนวนคน และพื้นที่ในการใช้งาน ถ้าใช้เพียงคนเดียวหรือไม่เกิน 2 คน เลือกใช้พัดลมแบบตั้งโต๊ะก็เพียงพอ 2. เลือกที่มี มอก. – พัดลมที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก.นั้น ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และมั่นใจในความปลอดภัยด้วยครับ 3. เลือกที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 - มีข้อมูลบ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นต่าง ๆ ของพัดลม ช่วยให้เราเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว 4. ตั้งพัดลมในที่ที่มีอากาศถ่ายเท - จะช่วยระบายอากาศและทำให้ลมสามารถพัดผ่านเข้ามาในตัวบ้านได้ และช่วยทำให้อากาศในบ้านเย็นลง มอเตอร์พัดลมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พัดลมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น 5. หมั่นทำความสะอาดพัดลมอยู่เสมอ - การทำความสะอาดพัดลมส่วนต่างๆ จะช่วยประหยัดค่าไฟ เพราะหาก มีฝุ่นเยอะ จะทำให้มอเตอร์ทำงานหนักขึ้น ประสิทธิภาพก็ลดลง และทำให้สิ้นเปลืองไฟเพิ่มขึ้นด้วย 6. ปรับความแรงลมเหมาะสม - ปรับระดับความเร็วลมให้พอดีเหมาะสมกับสถานที่และความต้องการ เพราะหากเปิดลมแรงเกินความจำเป็น การใช้ไฟฟ้าก็มากขึ้น 7. ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน - การเสียบปลั๊กค้างเอาไว้ กระแสไฟยังคงวิ่งอยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่มีการใช้งานก็ควรถอดปลั๊กออกทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย #ใช้พัดลมให้ประหยัดพลังงาน #พลังงานเพื่อทุกคน #EnergyForAll #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MOEN

18 มีนาคม 2568
3
Hover Icon
ผลการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 รอบ 6 เดือน

ผลการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 รอบ 6 เดือน

20 มีนาคม 2568
4
Hover Icon
แผนการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2568

แผนการส่งเสริมองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2568

6 มกราคม 2568
2
Hover Icon
สำนักงานพลังงานจังหวัดสระบุรี ขอประกาศเจนารมณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

สำนักงานพลังงานจังหวัดสระบุรี ขอประกาศเจนารมณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

8 มกราคม 2568
6
Hover Icon
ประกาศเผยแพร่การจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ส.2568

ประกาศเผยแพร่การจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ส.2568

25 กุมภาพันธ์ 2568
5
Hover Icon
การตรวจราชการรอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

#กระทรวงพลังงาน #สำนักงานพลังงานจังหวัดสระบุรี #มีพลังงาน มีความสุข

5 กุมภาพันธ์ 2568
7
Hover Icon
การหารือทวิภาคีระหว่างที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจําประเทศไทย

การหารือทวิภาคีระหว่างที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจําประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนกระทรวงพลังงาน ได้แก่ สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การต้อนรับการขอเข้าเยี่ยมคารวะและการหารือทวิภาคีของนางอัสตริด เอมิเลีย เฮลเล เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจําประเทศไทย (H.E. Ms. Astrid Emilie Helle) และคณะ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวนโยบายด้านพลังงานและหารือแนวทางการขยายความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ โดยฝ่ายนอร์เวย์ได้เน้นย้ำความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 120 ปี และยินดีที่จะสนับสนุนฝ่ายไทยในการผลักดันกิจกรรม/ โครงการความร่วมมือด้านพลังงานที่มีศักยภาพ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงาน ลมนอกชายฝั่ง นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังเป็นประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียมที่มีศักยภาพ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหารือในรายละเอียดกับฝ่ายนอร์เวย์ในการผลักดันความร่วมมือในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงการพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) นอกจากนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เชิญชวนนักลงทุนของนอร์เวย์ที่สนใจเข้าร่วมการยื่นขอสิทธิสํารวจและผลิตปิโตรเลียมสําหรับแปลงสํารวจบนบกและในทะเลอันดามันในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยที่จะผลักดันความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานกับนอร์เวย์ โดยอาจพิจารณาจัดทําแถลงการณ์เจตนารมณ์ร่วมเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานพิจารณาผลักดันความร่วมมือด้านพลังงานกับนอร์เวย์ต่อไป ทั้งนี้ ฝ่ายนอร์เวย์ได้เสนอให้ใช้เวทีการประชุมหารือทวิภาคีไทย - นอร์เวย์ของกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายที่มีอยู่แล้วเพื่อขับเคลื่อน ความร่วมมือด้านพลังงานที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกันในเบื้องต้น ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชนในด้านการค้าและการลงทุนในสาขาพลังงานและสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจ โดยฝ่ายไทยมีความพร้อมให้บริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff : UTG) รวมทั้งการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการทําสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ได้โดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: Direct PPA) ซึ่งจะเป็นการดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มบริษัท RE100รวมทั้งนักลงทุนจากนอร์เวย์ให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างสองประเทศเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกันต่อไปในอนาคต

30 มกราคม 2568
2
Hover Icon
งบทดลองประจำเดือน มกราคม 2568

งบทดลองประจำเดือน มกราคม 2568

4 กุมภาพันธ์ 2568
5
Hover Icon
สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ส.กทอ.)

สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ส.กทอ.) แนะนำขั้นตอน/วิธีการลงทะเบียนนผู้ดูแลระบบ (Admin) ของหน่วยงานรายใหม่ เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่จะเปิดให้ลงทะเบียนในวันที่ 27 มกราคม - 21 กุมภาพันธ์ 2568 สำหรับหน่วยงานที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนสามารถเข้าไปดูขั้นตอน/วิธีการการลงทะเบียนผู้ดูแลระบบ (Admin) สามารถไปดูรายละเอียดได้ที่ ??1. คลิป Video วิธีการ/ขั้นตอนผู้ดูแลระบบ (Admin) : https://youtu.be/EpSZZGwMc_w?si=5XA72CmtRfNKiMC7 ??2. คู่มือระบบการลงทะเบียนผู้ดูแลระบบ (Admin) ของหน่วยงาน ดาวโหลดเอกสารได้ที ???? : https://drive.google.com/.../1DvlIaG7wk6Fs5YuBIj.../view... ??3. ประกาศ ส.กทอ. เรื่อง การยื่นลงทะเบียนผู้ดูแลระบบ (Admin) ดาวโหลดเอกสารได้ที ???? : https://drive.google.com/.../1ZtSRRtzRcetm96S4kt7.../view... หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 1. สอบถามข้อมูลประกาศแผนยุทธศาสตร์จัดสรรเงินกองทุน Tel. 0 2158 1460 ต่อ 1211 , 1206 2. สอบถามข้อมูลผู้ใช้งานระบบ Admin Tel. 0 2158 1460 ต่อ 1409,1417,1408 3. สอบถามข้อมูลด้านเทคนิค (IT) Tel. 0 2158 1460 ต่อ 1110, 1405, 1407 Website: https://enconfund.go.th/ Facebook : สํานักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ส.กทอ. #สำนักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน #สกทอ #กระทรวงพลังงาน

24 มกราคม 2568
2
ดูทั้งหมด
Hover Icon
“พลังงาน”ชูต้นแบบสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองคาร์บอนต่ำ

“พลังงาน”ชูต้นแบบสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองคาร์บอนต่ำ กระทรวงพลังงาน ติดตามความคืบหน้าโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ที่เดินหน้ามุ่งขับเคลื่อนประเทศเพื่อลดคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก พร้อมติดตามความคืบหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้โครงข่ายท่อขนส่งน้ำมัน เผยช่วยลดอุบัติเหตุ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดฝุ่น วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2567) นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมศึกษาดูงานและติดตามความคืบหน้าโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ (SARABURI SANDBOX A LOW CARBON CITY) โดยมี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายธีรชัย พงศ์ติณบุตร พลังงานจังหวัดสระบุรี นายเจตพล เอมมณี กรรมการ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี คุณชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิจัยอิสระ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ให้การต้อนรับ และบรรยายความคืบหน้าโครงการ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการศึกษาดูงานโครงการสระบุรี แซนด์บ๊อกซ์ ว่า กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งการส่งเสริมผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การส่งเสริมการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์ราคาพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน และผู้ประกอบการ ซึ่งโครงการสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ เป็นโครงการต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งกระทรวงพลังงาน โดยพลังงานจังหวัดสระบุรี ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว อาทิ การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและยั่งยืน (Energy Transition) โดยได้ดำเนินการติดตั้งโซลาร์เซลล์ บนหลังคาลานจอดรถ เพื่อใช้ในศูนย์ราชการฯ ทำให้สามารถลดค่าไฟให้กับส่วนราชการลงได้ , โครงการ Solar Floating อ่างเก็บน้ำคลองเพียว ศูนย์ราชการฯ ซี่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้ง นอกจากนี้ ยังรับฟังการบรรยายสรุปการดำเนินงานของผู้ประกอบการการขนส่งน้ำมันทางท่อในภาพรวม และหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎระเบียบและชั้นตอนต่างๆ ของทางภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งน้ำมันทางท่อให้เพิ่มสูงขึ้น “การส่งเสริมให้ขนส่งทางท่อเป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศ ได้ช่วยเพิ่มศักยภาพการขนส่งน้ำมันได้ปริมาณมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งน้ำมัน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดปัญหาฝุ่นควันจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการขนส่งด้วย และสำหรับคลังน้ำมัน Thappline อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี แห่งนี้ ถือเป็นคลังน้ำมันที่มีความสำคัญ โดยเป็นจุดเชื่อมต่อของระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการกระจายน้ำมัน ไปยังภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ รถขนส่งน้ำมัน และรถไฟขนส่งน้ำมัน” นายประเสริฐ กล่าว

22 พฤศจิกายน 2567
8
Hover Icon
“พีระพันธุ์” มองอนาคตเชื้อเพลิงชีวภาพ

“พีระพันธุ์” มองอนาคตเชื้อเพลิงชีวภาพ เล็งโมเดลพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลใช้กับปาล์มหลังกองทุนน้ำมันฯ เลิกหนุนปี 69 “พีระพันธุ์” ใช้โมเดลพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฯ เตรียมคลอดกฎหมาย ช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันโดยดึงกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมแก้ปัญหากับกระทรวงพลังงานแบบครบวงจรทั้งเกษตรกร และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม หวังช่วยหาทางออกให้เชื้อเพลิงชีวภาพ ภายหลังจากปี 2569 ที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องยกเลิกชดเชย ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อปลดภาระกองทุนน้ำมันฯ คาดเตรียมตั้ง คณะทำงานในสองสัปดาห์นี้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวใน การบรรยายพิเศษหัวข้อ “ทิศทางของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพในอนาคต” ในกิจกรรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาให้กับ คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) และผู้เกี่ยวข้อง จัดโดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ว่า แม้ว่าปี 2569 จะเป็นปีสุดท้ายที่กองทุนน้ำมันฯ จะเลิกชดเชยราคา เชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และเอทานอล แต่ไม่ได้หมายความว่า จะยกเลิกการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพในน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น ราคาขายปลีกน้ำมันจะยิ่งสูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ อยู่ในระดับสูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเท่าตัวยิ่งผสมยิ่งทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น ซึ่งต่างจากเดิมวัตถุประสงค์การนำเชื้อเพลิงชีวภาพมาผสมในน้ำมัน เพราะมีราคาถูกนำมาผสมเพื่อลดราคาน้ำมันลง “ในความเป็นจริงแล้วจุดประสงค์ของการนำไบโอดีเซลมาผสมในดีเซล เอทานอลผสมในเบนซินไม่ได้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แต่ต้องการนำมาผสม เพื่อได้ปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นการช่วยลดต้นทุนราคาน้ำมัน ลดรายจ่ายจากการนำเข้าน้ำมันให้ประเทศ แต่เนื่องจากการอุดหนุน เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานทำให้กลายเป็นความเข้าใจทั่วไปว่าเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แต่ความจริงเป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจด้วยว่า กระทรวงพลังงานไม่ได้มีบทบาทหลักในการช่วยเหลือเกษตรกร แต่ก็หลีกหนีไม่ได้เนื่องจากนโยบายนี้ได้ปล่อยดำเนินการมาเนิ่นนาน และไม่มีหน่วยงานอื่นช่วยคิดแก้ปัญหา กระทรวงพลังงานจึงต้องพยายาม ช่วยหาทางออกให้กับเกษตรกร” นายพีระพันธุ์กล่าวว่า มีแนวคิดจะนำรูปแบบการแก้ปัญหาเรื่องอ้อยกับน้ำตาล ตามพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาปรับใช้ โดยเล็งเห็นแนวทาง ของการแก้ปัญหาเรื่องอ้อยและน้ำตาลเพราะหากปล่อยไว้โดยเฉพาะ ปาล์มน้ำมัน จะได้รับผลกระทบจึงเตรียมยกร่างกฎหมาย เหมือนพ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลฯ ให้เป็นกฎหมายปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรม น้ำมันปาล์ม อยู่ในความรับผิดชอบกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งโชคดีที่อยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของตนในฐานะรองนายกรัฐมนตรี โดยจะร่วมกันทำงาน ระหว่างสองกระทรวงเพื่อรองรับเมื่อเชื้อเพลิงชีวภาพจะต้องถูกยกเลิกการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน ฯ ในปี 2569 คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์จะมีคณะทำงาน ชุดนี้เกิดขึ้นเพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรมและพลังงานทำงานด้วยกัน โดยพยายามจะเร่งออกกฎหมายให้เป็นทางออกของกองทุนน้ำมันฯ ต่อไป สำหรับกฎหมายอ้อยและน้ำตาลซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวง อุตสาหกรรมมีส่วนช่วยทำให้การผลิตและจำหน่ายอ้อยและน้ำตาลทราย สอดคล้องกันชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทรายร่วมมือกับทางการตั้งแต่ผลิตอ้อยไปจนถึงการจัดสรรเงินรายได้จากการขายน้ำตาลทรายทั้งในและ ต่างประเทศ ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นระบบที่ดีเกษตรกรพอใจได้ผลประโยชน์ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ยังมองอนาคตการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยาน แบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF ก็เป็นอีก แนวทางหนึ่งในการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในอนาคต หากความต้องการ สูงขึ้นจะสามารถดูดซับวัตถุดิบอย่างปาล์มน้ำมันไปใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งการวางแนวทางพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพต้องวางฐานให้เข้มแข็ง ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ต่างประเทศมาลงทุน

6 พฤศจิกายน 2567
6
Hover Icon
กบง. ปรับสูตรดีเซล ช่วยประชาชน ป้องกันราคาพุ่ง เริ่ม 21 พฤศจิกายน นี้

กบง. ปรับสูตรดีเซล ช่วยประชาชน ป้องกันราคาพุ่ง เริ่ม 21 พฤศจิกายน นี้ วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2567) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณาแนวทางการกำหนดสัดส่วนของน้ำมันไบโอดีเซล B100 ในช่วงที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) สูงขึ้นมาก ภายหลังจากการประชุม นายพีระพันธุ์ฯ กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคา CPO ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาไบโอดีเซลอยู่ที่ประมาณ 48 บาทต่อลิตร หรือ 2 เท่าของราคาเนื้อน้ำมัน ทำให้ต้นทุนน้ำมันดีเซลสูงขึ้นตามไปด้วย และจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลที่ขายให้ประชาชนมีราคาสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและ เพื่อให้การจัดการราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ประชุม กบง. จึงมีมติเห็นชอบการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลดังนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และไม่สูงกว่าร้อยละ 7 โดยปริมาตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 19 และไม่สูงกว่าร้อยละ 20 โดยปริมาตร ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์แต่อย่างใด ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีมติ กบง. เปลี่ยนแปลง โดยมอบหมายให้ กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ออกประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2567 ให้สอดคล้องกับการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล และ มอบหมายให้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) นำเสนอการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล ต่อคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) เพื่อทราบต่อไป

8 พฤศจิกายน 2567
33
Hover Icon
“พีระพันธุ์” เดินหน้าเร่งจัดตั้ง SPR สร้างระบบสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์หนุนความมั่นคงพลังงานไทย คาดกฎหมายเกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จในสิ้นปี 67 นี้ เพื่อให้ประชาชนจ่ายค่าพลังงานตามต้นทุนที่แท้จริง

“พีระพันธุ์” เดินหน้าเร่งจัดตั้ง SPR สร้างระบบสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์หนุนความมั่นคงพลังงานไทย คาดกฎหมายเกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จในสิ้นปี 67 นี้ เพื่อให้ประชาชนจ่ายค่าพลังงานตามต้นทุนที่แท้จริง วันนี้ (31 ตุลาคม 2567) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ”แนวนโยบายของรัฐบาลต่อการพัฒนาพลังงานของประเทศเพื่อความมั่นคงของชาติและประชาชนที่ยั่งยืน” ในงานเสวนา ”การพัฒนาการจัดบริการสาธารณะด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงของประชาชน” ซึ่งจัดโดย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ในส่วนหนึ่งของปาฐกถาครั้งนี้ นายพีระพันธุ์ ได้กล่าวถึงการเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงานว่า ตนมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประชาชน โดยที่ผ่านมา ตนได้ดำเนินการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ที่แท้จริง รวมทั้งศึกษากฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพื่อหาแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และที่สำคัญต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศด้วย เพราะในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยขุดน้ำมันได้ที่ อ.ฝาง เมื่อกลั่นแล้วเหลือใช้ในกองทัพจึงขายให้กับประชาชน โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการค้าขายเพื่อผลกำไร แต่หลังจากที่มีการก่อตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทิศทางการจัดการด้านพลังงานของประเทศได้มุ่งไปทางธุรกิจมากกว่าความมั่นคง และไม่ได้มีการปรับปรุงด้านกฎหมายมานานกว่า 50 ปีแล้ว นายพีระพันธุ์กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve : SPR) เหมือนประเทศอื่น ๆ ทำให้ประเทศไม่มีความมั่นคงด้านพลังงาน ตนจึงได้ดำเนินการร่างกฎหมาย SPR เพื่อสร้างระบบสำรองน้ำมันของประเทศไทย โดยที่ภาครัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการลงทุนสร้างคลังน้ำมันและซื้อน้ำมัน และเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาน้ำมัน รวมไปถึงก๊าซธรรมชาติด้วย โดยต่อไปการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศจะเป็นเรื่องของภาครัฐกับผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมัน ไม่ต้องผันผวนรายวันตามราคาขึ้นลงของตลาดโลก อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานได้มีความคืบหน้าในการกำหนดให้บริษัทผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมันต้องแสดงต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง เพื่อพิจารณาไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนเกินไป และกำลังดำเนินการร่างกฎหมายด้านพลังงานที่สำคัญอีกหลายฉบับ เช่น ร่างกฎหมายกำกับดูแลการประกอบกิจการค้าน้ำมันและก๊าซ ร่างกฎหมายกํากับดูแลการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตั้งระบบ Solar Rooftop รวมถึง ร่างกฎหมายจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันแห่งชาติ หรือ Strategic Petroleum Reserve (SPR) ที่จะมาดูแลปัญหาราคาน้ำมันแทนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจพิจารณาและคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในปี 2567 นี้ “ผมมาทำงานตรงนี้ ไม่ได้มาเพื่อโปรโมทตัวเอง แต่ผมเข้ามาทำในสิ่งที่ต้องทำ ในส่วนของค่าไฟฟ้าผมยืนยันได้ว่า ผมจะสู้เพื่อประชาชน ทำทุกวิถีทางไม่ให้ค่าไฟขึ้น น้ำมันก็เช่นกัน ในอนาคต หากมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่หากทำให้ต้นทุนน้ำมันสูงขึ้น ก็ต้องหาวิธีไม่ให้กระทบกับประชาชน ส่วนแผน Carbon Neutrality และ Net Zero ก็เป็นแผนที่ผมให้ความสำคัญ และได้มอบให้ กฟผ. ไปศึกษาเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับในเขื่อนที่มีอยู่ รวมทั้งการนำแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า นำมาให้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด” นายพีระพันธุ์ กล่าว

31 ตุลาคม 2567
0
Hover Icon
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานในพิธีเปิด “กิจกรรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และผู้เกี่ยวข้องกับสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

วันนี้ (4 พ.ย. 67) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานในพิธีเปิด “กิจกรรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และผู้เกี่ยวข้องกับสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ สกนช และบรรยายพิเศษ “ทิศทางของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพในอนาคต” ให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากร เจ้าหน้าที่ พลังงานจังหวัดเพชรบุรี พลังงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งหน่วยงานภายใน อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหน่วยงานภายนอก อาทิ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ณ โรงแรมอมารี หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

4 พฤศจิกายน 2567
3
Hover Icon
“พีระพันธุ์” ชี้ภาคอุตสาหกรรมต้องร่วมมือรัฐ ปรับตัวรับแผนพลังงานใหม่พร้อมเทรนด์โลกที่มุ่งลดคาร์บอน

“พีระพันธุ์” ชี้ภาคอุตสาหกรรมต้องร่วมมือรัฐ ปรับตัวรับแผนพลังงานใหม่พร้อมเทรนด์โลกที่มุ่งลดคาร์บอน วันนี้ (17 ต.ค. 67) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สอคคล้องกับแผนพลังงานใหม่เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality” ในการจัดสัมมนาวิชาการประจำปี Energy Symposium 2024 โดยสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งสาระสำคัญในการกล่าวปาฐกถาเป็นเรื่องการปรับตัว และไม่ใช่แค่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว ภาครัฐเองก็ต้องทำเช่นกัน โดยการปรับตัวไม่ได้แค่ให้สอดคล้องกับแผนพลังงานใหม่เท่านั้น แต่ต้องปรับให้เข้ากับเทรนด์โลกด้วย เพราะทุกภาคมีส่วนในการปล่อยมลภาวะส่งผลต่อภาวะโลกร้อน เห็นได้จากภัยน้ำท่วมในไทย พายุเฮอริเคน ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ สิ่งที่ต้องทำให้เราปรับตัวเข้ากับเทรนด์โลกคือ การลดคาร์บอนที่เกิดจากภาคพลังงาน เพื่อนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และ Net Zero 2065 ซึ่งภาคอุตสหากรรมยังต้องใช้พลังงานฟอสซิล เพราะฉะนั้นในแผนพลังงานใหม่จึงวางไว้ให้การผลิตไฟฟ้าที่มาจากเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งไทยเน้นที่พลังงานจากแสงแดด แผน PDP ใหม่จึงต้องเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น อย่างไรก็ดี การปรับตัวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนที่ต้องจ่าย นับว่าเป็นสิ่งท้าทายสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในความเป็นจริงต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงนั้นถูก แต่ระบบการผลิตแพง และมีกฎระเบียบเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดความยุ่งยากเป็นอุปสรรค ผมในฐานะเข้ามารับผิดชอบกระทรวงพลังงานจึงกำลังศึกษาและร่างกฎหมาย เพื่อทำอย่างไรให้เอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมสามารถติดตั้งระบบไฟฟ้าได้เอง ง่าย เน้นให้สามารถผลิตในประเทศทำให้ต้นทุนต่ำ เพื่อลดต้นทุนให้กับทั้งภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรมด้วย โดยภาคอุตสาหกรรมอาจจะค่อนข้างเหนื่อย เพราะต้องเผชิญอุปสรรคทางการค้า หากสินค้าไม่ได้ผลิตจากพลังงานสะอาดก็จะถูกข้อกีดกันจากประเทศผู้นำเข้า อาจไม่รับซื้อ ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่แค่ต้องปรับตัวให้เข้ากับแผนพลังงานใหม่ แต่ต้องปรับตัวเข้ากับโลกด้วย ซึ่งในภาคปฏิบัติ ภาคอุตสาหกรรมต้องช่วยคิดวิธีแก้ไขและนำเสนอมากับทางภาครัฐ ภารกิจของแผนพลังงานฉบับใหม่จะต้องไม่ใช่เป็นภาระ แต่เพื่อประเทศเดินหน้าสอดคล้องโลก อย่างไรก็ดี ทั้งหมดของแผนต่างๆ ไม่ได้สำคัญไปกว่าความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชีวิตมนุษย์ ซึ่งภาครัฐพยายามดำเนินการให้มั่นใจได้ว่ากระทรวงพลังงานดำเนินการแผนพลังงานเพื่อประโยชน์ของประเทศ เพื่ออุตสาหกรรม เพื่อประชาชน ซึ่งขณะนี้แผน PDP อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น หวังว่าท่านที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมจะได้ช่วยระดมความคิดช่วยมองให้สอดคล้องกันหรือพูดง่ายๆว่า ทำอย่างไรให้คาร์บอนลดลงจากภาคการผลิตและการใช้พลังงานก่อนจะเดินทางไปสู่ Net Zero ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าเราจะทำได้หรือเปล่า แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ และการจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจทุกฝ่าย เช่น ภาคอุตสาหกรรมทำอย่างไรให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง เพราะค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำคัญต่อทุกภาคส่วน ภาระหน้าที่ของผมคือต้องสร้างความคล่องตัว ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ควบคุมไม่ได้จากการพึ่งพาเชื้อเพลิงในการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย รวมทั้งที่นำเข้าจากเมียนมา ผมมั่นใจว่าวันนี้วิทยากรที่มาร่วมสัมมนามีองค์ความรู้เพื่อจะเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมรับมือกับเทรนด์โลกได้อย่างทันท่วงที “สิ่งที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญและดำเนินการอยู่ คือ การนำแผนไปสู่การปฏิบัติด้วยการ “รื้อ ลด ปลด สร้าง” เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมให้สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนก็สามารถประยุกต์แนวคิดดังกล่าวได้เช่นกัน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนจากดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการดูดกลับด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวหรือการชดเชยคาร์บอน จัดการสภาวะปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่าน โดย “รื้อ” ระบบการผลิตการใช้พลังงานเก่าที่ล่าสมัยไร้ประสิทธิภาพออกไป ซึ่งจะเป็นการ “ลด” การใช้พลังงานของตนเองไปโดยอัตโนมัติ นั่นคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้มีการผลิตที่ใช้พลังงานน้อยลง แต่ได้ผลผลิตที่มากขึ้นด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพพลังงานสูง “ปลด” พันธนาการจากการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกด้วยการผลิตพลังงานสะอาดใช้เอง ที่จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถกำหนดและควบคุมต้นทุนด้านพลังงานได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะต้นทุนด้านไฟฟ้าที่การผลิตไฟฟ้าของส่วนกลางต้องนำเข้าเชื้อเพลิง LNG จากต่างประเทศ ทำให้มีต้นทุนสูงและมีราคาผันผวนตามราคาตลาดโลก ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและกระทบต่อความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น การที่ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนต้องมีแหล่งพลังงานสะอาดที่สามารถบริหารจัดการได้เองที่จะช่วยลดปริมาณความต้องการไฟฟ้าได้ โดยปัจจุบันกระทรวงพลังงานอยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น เพื่อให้มีความทันสมัย ปลดล็อคกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ลดขั้นตอนให้ผู้ประกอบการ และช่วยอำนวยความสะดวกให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าสะอาดใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของตนเอง นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมยังสามารถ “สร้าง” มูลค่าเพิ่มให้กับของเสียน้ำเสียจากกระบวนการผลิตของตนเองต่อยอดสู่การผลิตเป็นพลังงานทดแทนสำหรับนำกลับมาใช้เอง “สร้าง” ระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของตนเองด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การปรับปรุงระบบขนส่งเป็นรถไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น” นายพีระพันธุ์ กล่าว

17 ตุลาคม 2567
6
ดูทั้งหมด
Hover Icon
ประชุมคณะกรรมการจริยธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ประจำปี 2568

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (สป.พน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี กระทรวงพลังงาน โดยมีคณะกรรมการจริยธรรม สป.พน. เข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก อาทิ นายสมบูรณ์ หน่อแก้ว อดีตรองปลัดกระทรวงพลังงาน และนางอุไร ร่มโพธิหยก อดีตที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง โดยมี นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เป็นกรรมการและเลขานุการ การประชุมครั้งนี้ เป็นการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ คณะกรรมการจริยธรรม สป.พน. ซึ่งประกอบด้วยคณะทำงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านคุณธรรมจริยธรรม และคณะทำงานศึกษาและติดตามแนวทางการแก้ไขข้อสังเกตในการตรวจสอบรายงานการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขข้อสังเกตจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้หน่วยงานมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งคณะกรรมการจริยธรรม สป.พน. ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล โดยให้ข้าราชการทุกระดับควรปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอย่างเคร่งครัด รวมถึงการเป็น ”คนเก่งและคนดี” ตามแนวทางการบริหารงานภาครัฐที่มีมาตรฐานด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรมในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

19 มีนาคม 2568
3
ดูทั้งหมด
Hover Icon
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมการประชุม IEA-COP26 Net Zero Summit ผ่านระบบออนไลน์

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ได้เข้าร่วมการประชุม IEA-COP26 Net Zero Summit ผ่านระบบออนไลน์ (Virtual Meeting) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 15 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี

24 เมษายน 2564
18
ดูทั้งหมด
Hover Icon
ประชุมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เพื่อติดตามเร่งรัดการดำเนินนโยบายเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

วันนี้ (25 ตุลาคม 2567) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงพลังงาน เพื่อติดตามเร่งรัดการดำเนินนโยบายเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อาทิ เร่งการจัดหาแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศ ผลักดันมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริม solar rooftop กลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย และการสนับสนุนทางภาษีเพื่อการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง เป็นต้น ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานเร่งขับเคลื่อนนโยยายและมาตรการต่างๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเร็ว โดยยึดประโยชน์ต่อประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งให้หน่วยงานต้องมารายงานความคืบหน้าของแต่ละโครงการเป็นระยะ

25 ตุลาคม 2567
8
Hover Icon
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

วันนี้ (27 ตุลาคม 2567) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูง เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จฯ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 สวนหลวงพระราม 8

27 ตุลาคม 2567
3
Hover Icon
ขอไว้อาลัย

ขอไว้อาลัย

1 ตุลาคม 2567
5
Hover Icon
ประชุม ก.บ.จ

วันอังคารที่ 5 เมษายน 2565 เวลา 13.30 น. นายเอกพร จุ้ยสำราญ รอง ผวจ.สระบุรี เป็นประธานการประชุม ก.บ.จ. ซึ่งที่ประชุม ก.บ.จ.ได้เห็นชอบข้อเสนอโครงการที่ยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯ ปี 65 จำนวน 120 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 23,666,700 บาท โดยนายเสถียร ดวงจำปา พลังงานจังหวัดสระบุรี จะแจ้งผลการพิจารณาของจังหวัด ให้ อปท.ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ และ ส.กทอ.รับทราบ ภายใน วันที่ 12 เม.ย.65 ต่อไป

5 เมษายน 2565
38
Hover Icon
ลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพงานจ้างทำโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก ขนาด 3 X 4 เมตร ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทยบ้านนอกจากข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ต.บ้านหลวง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี

วันที่ 8 เมษายน 2565 นายเสถียร ดวงจำปา ตำแหน่ง พลังงานจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยนางขวัญเรือน มหาภาส ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ และนายกัมปนาท เสียมสกุล ตำแหน่ง นายช่างเทคนิคชำนาญงาน ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพงานจ้างทำโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก ขนาด 3 X 4 เมตร ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทยบ้านนอกจากข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ต.บ้านหลวง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี

1 เมษายน 2565
32
Hover Icon
ก.พลังงานแจงไม่ได้ยกเลิกส่งเสริม ‘พลังงานชุมชน’และโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน

กระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีมีกระแสข่าวการยกเลิกนโยบายเกี่ยวกับ ‘พลังงานชุมชน’ ว่าไม่เป็นความจริง

24 เมษายน 2564
39
ดูทั้งหมด
E
NERGY STATISTICS
สถิติพลังงาน