การแสดงรายละเอียดประกอบรายการบัญชีที่สำคัญของงบทดลองประจำเดือนกันยายน 2567

0.30 MB
2.2_compressed.pdf
“พีระพันธุ์” มองอนาคตเชื้อเพลิงชีวภาพ เล็งโมเดลพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลใช้กับปาล์มหลังกองทุนน้ำมันฯ เลิกหนุนปี 69 “พีระพันธุ์” ใช้โมเดลพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฯ เตรียมคลอดกฎหมาย ช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันโดยดึงกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมแก้ปัญหากับกระทรวงพลังงานแบบครบวงจรทั้งเกษตรกร และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม หวังช่วยหาทางออกให้เชื้อเพลิงชีวภาพ ภายหลังจากปี 2569 ที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องยกเลิกชดเชย ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อปลดภาระกองทุนน้ำมันฯ คาดเตรียมตั้ง คณะทำงานในสองสัปดาห์นี้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวใน การบรรยายพิเศษหัวข้อ “ทิศทางของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพในอนาคต” ในกิจกรรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาให้กับ คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) และผู้เกี่ยวข้อง จัดโดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ว่า แม้ว่าปี 2569 จะเป็นปีสุดท้ายที่กองทุนน้ำมันฯ จะเลิกชดเชยราคา เชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และเอทานอล แต่ไม่ได้หมายความว่า จะยกเลิกการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพในน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น ราคาขายปลีกน้ำมันจะยิ่งสูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ อยู่ในระดับสูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเท่าตัวยิ่งผสมยิ่งทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น ซึ่งต่างจากเดิมวัตถุประสงค์การนำเชื้อเพลิงชีวภาพมาผสมในน้ำมัน เพราะมีราคาถูกนำมาผสมเพื่อลดราคาน้ำมันลง “ในความเป็นจริงแล้วจุดประสงค์ของการนำไบโอดีเซลมาผสมในดีเซล เอทานอลผสมในเบนซินไม่ได้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แต่ต้องการนำมาผสม เพื่อได้ปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นการช่วยลดต้นทุนราคาน้ำมัน ลดรายจ่ายจากการนำเข้าน้ำมันให้ประเทศ แต่เนื่องจากการอุดหนุน เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานทำให้กลายเป็นความเข้าใจทั่วไปว่าเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แต่ความจริงเป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจด้วยว่า กระทรวงพลังงานไม่ได้มีบทบาทหลักในการช่วยเหลือเกษตรกร แต่ก็หลีกหนีไม่ได้เนื่องจากนโยบายนี้ได้ปล่อยดำเนินการมาเนิ่นนาน และไม่มีหน่วยงานอื่นช่วยคิดแก้ปัญหา กระทรวงพลังงานจึงต้องพยายาม ช่วยหาทางออกให้กับเกษตรกร” นายพีระพันธุ์กล่าวว่า มีแนวคิดจะนำรูปแบบการแก้ปัญหาเรื่องอ้อยกับน้ำตาล ตามพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาปรับใช้ โดยเล็งเห็นแนวทาง ของการแก้ปัญหาเรื่องอ้อยและน้ำตาลเพราะหากปล่อยไว้โดยเฉพาะ ปาล์มน้ำมัน จะได้รับผลกระทบจึงเตรียมยกร่างกฎหมาย เหมือนพ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลฯ ให้เป็นกฎหมายปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรม น้ำมันปาล์ม อยู่ในความรับผิดชอบกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งโชคดีที่อยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของตนในฐานะรองนายกรัฐมนตรี โดยจะร่วมกันทำงาน ระหว่างสองกระทรวงเพื่อรองรับเมื่อเชื้อเพลิงชีวภาพจะต้องถูกยกเลิกการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน ฯ ในปี 2569 คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์จะมีคณะทำงาน ชุดนี้เกิดขึ้นเพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรมและพลังงานทำงานด้วยกัน โดยพยายามจะเร่งออกกฎหมายให้เป็นทางออกของกองทุนน้ำมันฯ ต่อไป สำหรับกฎหมายอ้อยและน้ำตาลซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวง อุตสาหกรรมมีส่วนช่วยทำให้การผลิตและจำหน่ายอ้อยและน้ำตาลทราย สอดคล้องกันชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทรายร่วมมือกับทางการตั้งแต่ผลิตอ้อยไปจนถึงการจัดสรรเงินรายได้จากการขายน้ำตาลทรายทั้งในและ ต่างประเทศ ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นระบบที่ดีเกษตรกรพอใจได้ผลประโยชน์ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ยังมองอนาคตการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยาน แบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF ก็เป็นอีก แนวทางหนึ่งในการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในอนาคต หากความต้องการ สูงขึ้นจะสามารถดูดซับวัตถุดิบอย่างปาล์มน้ำมันไปใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งการวางแนวทางพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพต้องวางฐานให้เข้มแข็ง ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ต่างประเทศมาลงทุน
??6 เหตุผล ที่ควรติดโซลาร์เซลล์ ??การติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะผู้คนตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากสภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน อีกทั้งการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ยังช่วยประหยัดค่าไฟได้ และมีแนวโน้มราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1. ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกเดือดพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจาก ธรรมชาติ เป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. ช่วยประหยัดค่าไฟในบ้าน เนื่องจากเป็นการใช้ไฟฟ้าจากระบบที่ผลิตเอง อีกทั้งหากมีไฟฟ้าส่วนเกินก็สามารถขายไฟฟ้าให้กับภาครัฐได้ (กรณีเข้าร่วมโครงการกับภาครัฐ) 3. ช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้น การติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน เป็นตัวสะท้อนความร้อนที่ได้รับโดยตรงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ช่วยลดอุณหภูมิในบ้านได้ประมาณ 3 - 5 องศา ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศในบ้านได้ 4. การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันทำได้ง่ายและสะดวก การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน มีบริษัท ที่ให้บริการอย่างครบวงจร โดยดูแลตั้งแต่การออกแบบ จัดหาอุปกรณ์ ติดตั้ง และดำเนินการด้านเอกสาร ไปจนถึงบริการหลังการขาย 5. มีความคุ้มค่าในระยะยาว ระบบโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานเฉลี่ยถึง 30 - 40 ปี จึงนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว และหลังจากจุดคุ้มทุนก็นับเป็นกำไรที่ได้จากการใช้ไฟฟ้านั่นเอง 6. มีราคาถูกลง การติดโซล่าร์เซลล์ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ ??โซลาร์เซลล์เหมาะกับใครเหมาะสำหรับคนที่ใช้ไฟในช่วงเวลากลางวัน เป็นส่วนใหญ่ เช่น บ้านพักอาศัย ออฟฟิศ สำนักงาน หอพัก หรือโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ควรศึกษาข้อดี ข้อจำกัด รูปแบบการติดตั้งและ คำนวณระยะเวลาคืนทุนประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย
“พลังงาน”ชูต้นแบบสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองคาร์บอนต่ำ กระทรวงพลังงาน ติดตามความคืบหน้าโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ที่เดินหน้ามุ่งขับเคลื่อนประเทศเพื่อลดคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก พร้อมติดตามความคืบหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้โครงข่ายท่อขนส่งน้ำมัน เผยช่วยลดอุบัติเหตุ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดฝุ่น วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2567) นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมศึกษาดูงานและติดตามความคืบหน้าโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ (SARABURI SANDBOX A LOW CARBON CITY) โดยมี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายธีรชัย พงศ์ติณบุตร พลังงานจังหวัดสระบุรี นายเจตพล เอมมณี กรรมการ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี คุณชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิจัยอิสระ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ให้การต้อนรับ และบรรยายความคืบหน้าโครงการ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการศึกษาดูงานโครงการสระบุรี แซนด์บ๊อกซ์ ว่า กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งการส่งเสริมผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การส่งเสริมการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์ราคาพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน และผู้ประกอบการ ซึ่งโครงการสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ เป็นโครงการต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งกระทรวงพลังงาน โดยพลังงานจังหวัดสระบุรี ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว อาทิ การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและยั่งยืน (Energy Transition) โดยได้ดำเนินการติดตั้งโซลาร์เซลล์ บนหลังคาลานจอดรถ เพื่อใช้ในศูนย์ราชการฯ ทำให้สามารถลดค่าไฟให้กับส่วนราชการลงได้ , โครงการ Solar Floating อ่างเก็บน้ำคลองเพียว ศูนย์ราชการฯ ซี่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้ง นอกจากนี้ ยังรับฟังการบรรยายสรุปการดำเนินงานของผู้ประกอบการการขนส่งน้ำมันทางท่อในภาพรวม และหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎระเบียบและชั้นตอนต่างๆ ของทางภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งน้ำมันทางท่อให้เพิ่มสูงขึ้น “การส่งเสริมให้ขนส่งทางท่อเป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศ ได้ช่วยเพิ่มศักยภาพการขนส่งน้ำมันได้ปริมาณมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งน้ำมัน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดปัญหาฝุ่นควันจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการขนส่งด้วย และสำหรับคลังน้ำมัน Thappline อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี แห่งนี้ ถือเป็นคลังน้ำมันที่มีความสำคัญ โดยเป็นจุดเชื่อมต่อของระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการกระจายน้ำมัน ไปยังภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ รถขนส่งน้ำมัน และรถไฟขนส่งน้ำมัน” นายประเสริฐ กล่าว